เขตอำนาจการสอบสวน’ คืออะไร? แบ่งอย่างไร?

เขตอำนาจการสอบสวน’ คืออะไร? แบ่งอย่างไร?

🤔 เคยไหมที่ไปแจ้งความ แล้วพบว่าไปแจ้งผิดสถานีตำรวจ หรือเป็นสถานีตำรวจที่ไม่มีอำนาจการสอบสวน
🎯 วันนี้..’กองปราบ’ ขอนำเสนอ คำอธิบายกฎหมาย เรื่อง “เขตอำนาจการสอบสวน” ให้ทุกท่านได้ทำความเข้าใจกัน
🔴 เขตอำนาจการสอบสวน มีความสำคัญอย่างไร ? เขตอำนาจการสอบสวน มีความสำคัญต่อการดำเนินคดีอาญาเป็นอย่างมาก เพราะหากการสอบสวนเกิดขึ้นโดยพนักงานสอบสวนที่ไม่มีอำนาจ จะมีผลให้การสอบสวนนั้นก็เป็นการสอบสวนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย มีค่าเท่ากับคดีอาญาที่ยังไม่มีการสอบสวน ทำให้พนักงานอัยการไม่สามารถฟ้องคดีนั้นได้ และหากมีการฟ้องคดีไป ศาลก็ต้องพิพากษายกฟ้อง ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 120
🔴 เขตอำนาจการสอบสวนแบ่งอย่างไร ? ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 18 ได้วางหลักไว้ว่า…พนักงานสอบสวนจะมีอำนาจในการสอบสวนในคดีอาญาได้ก็ต่อเมื่อ เหตุนั้นเกิดขึ้น หรือเชื่อว่าได้เกิดขึ้นในเขตพื้นที่รับผิดชอบของพนักงานสอบสวนท่านนั้น เช่น มีการลักทรัพย์ที่เชียงใหม่ พนักงานสอบสวนที่มีอำนาจสอบสวน จะต้องเป็นพนักงานสอบสวนที่รับผิดชอบในพื้นที่เชียงใหม่ พนักงานสอบสวนนอกเขตพื้นที่ ไม่มีอำนาจการสอบสวน
🔴 ถ้าเหตุเกิดขึ้นหลายท้องที่ ต้องแจ้งที่ไหน ? หากเป็นการกระทำความผิดที่เกิดขึ้นหลายพื้นที่ ต่อเนื่องกัน เช่น ลักพาตัวผู้หญิงขึ้นมาบนรถ จากนั้นก็มีการข่มขืนกระทำชำเรามาตลอดทาง ผ่านหลายพื้นที่ ความผิดลักษณะนี้ ป.วิ.อาญา มาตรา 19 ได้แบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ…
1. หากเจ้าหน้าที่ทราบเรื่องก่อน เช่น จากการเข้าแจ้งความของญาติผู้เสียหาย เจ้าหน้าที่ที่ทราบเรื่องก่อน จะเป็นเจ้าพนักงานที่มีอำนาจสอบสวน
2. หากจับตัวผู้กระทำผิดได้ก่อนจะมีการแจ้งความ เช่น จับได้ขณะกระทำความผิด เพราะถูกตำรวจตั้งด่าน และพบว่ามีการลักพาตัวมา เจ้าหน้าที่ในพื้นที่ที่จับกุม จะเป็นเจ้าพนักงานที่มีอำนาจสอบสวน
📌 ด้วยความห่วงใย ก่อนที่ท่านจะเข้าแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน ท่านควรตรวจสอบว่า เหตุที่เกิดขึ้นอยู่ในพื้นที่การสอบสวนของสถานีตำรวจใด โดยท่านสามารถโทรศัพท์ไปสอบถามที่สถานีตำรวจใกล้เคียง เกี่ยวกับเขตพื้นที่รับผิดชอบให้ชัดเจนก่อน เพื่อป้องกันความสับสน และเพื่อความสะดวกในการเดินทางไปแจ้งความร้องทุกข์
🇹🇭🚔 ด้วยความปราถนาดีจากกองปราบ
“มืออาชีพ เป็นกลาง เคียงข้างประชาชน”