เกี่ยวกับองค์กร

ความเป็นมาของตำรวจกองปราบ

องบังคับการปราบปราม (อังกฤษ: Crime Suppression Division) เป็นหน่วยงานในสังกัดของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ อยู่ภายใต้บังคับบัญชาของกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (บช.ก.) มีหน้าที่เกี่ยวกับการสืบสวนสอบสวน ป้องกัน และปราบปราม ทั่วประเทศไทย ทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัด ยกเว้นคดีที่เกี่ยวกับการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ, คดีเกี่ยวกับการท่องเที่ยว และความผิดทางเศรษฐกิจโดยตรง

กองบังคับการปราบปรามก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2491 กำหนดให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา คือวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2491 เป็นต้นไป จึงถือว่าวันที่ 1 กันยายน ของทุกปีเป็นวันสถาปนากองบังคับการปราบปราม

กองบังคับการปราบปรามแบ่งการบังคับบัญชาออกเป็น กองกำกับการ 1 – 7 ทั้งหมดขึ้นตรงกับ กองบังคับการปราบปราม ผู้บังคับการปราบปรามคนปัจจุบันคือ พล.ต.ต.จิรภพ ภูริเดช
กองบังคับการปราบปราม ตั้งอยู่ที่ ถนนพหลโยธิน แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
ก่อนที่จะได้ชื่อว่า “กองปราบปราม” มีกองตำรวจที่ ทำหน้าที่เช่นเดียวกับกองปราบปรามมาก่อน ซึ่งถือได้ว่า กองตำรวจเหล่านั้นเป็นต้นกำเนิดของกองปราบปรามในปัจจุบัน กองตำรวจดังกล่าวคือ
ตำรวจภูบาล ตั้งขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา แผ่นดินพระบรมไตรโลกนาถโปรดให้ตราระเบียบการปกครองแผ่นดิน เป็น 4 เหล่า เรียกว่า “จตุสดมภ์” ได้แก่ เวียง วัง คลัง นา ซึ่งพร้อมกันนี้ได้โปรดเกล้าฯ ให้มีการตำรวจขึ้นด้วย โดยให้ขึ้นอยู่กับเวียง มีการกำหนดศักดินาของข้าราชการตำรวจตำแหน่งต่าง ๆ ไว้ในบทพระอัยการเช่นเดียวกับข้าราชการฝ่ายพลเรือนตำรวจภูบาลทำหน้าที่คล้ายตำรวจกองปราบปรามและตำรวจสันติบาลร่วมกันคือ สืบสวนสอบสวนคดีเมือง สอดส่องพฤติกรรมของเจ้านายที่ทุจริต ปราบปรามข้าราชการทุจริต ทำการช่วยเหลือตำรวจท้องที่คือ ตำรวจภูธรและนครบาลสืบจับผู้กระทำผิดคดีสำคัญ นอกจากนี้มีหน้าที่เกี่ยวกับพิสูจน์หลักฐานและลายพิมพ์นิ้วมืออย่างกองวิทยาการเดี๋ยวนี้ด้วย

ตำรวจพิเศษมีขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นตำรวจส่วนกลางทำหน้าที่อย่างตำรวจสอบสวนกลาง คือ ทำหน้าที่ปราบปรามโจรผู้ร้ายทั้งในหัวเมืองและจังหวัดพระนคร และยังมีหน้าที่ทางทะเบียนและสถิติอีกด้วย เช่นการตรวจโรงรับจำนำ ออกรูปพรรณของหาย รับจดทะเบียนรถยนต์ จัดการเกี่ยวกับการตรวจพิมพ์ลายนิ้วมือ การปล่อยนักโทษ การเนรเทศ

กองตำรวจภูธรกลาง ตั้งขึ้นเมื่อ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต เป็นเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง มีหน้าที่อย่างกองปราบปรามเดี๋ยวนี้คือสืบสวนสอบสวนคดีอุกฉกรรจ์ ที่ตกค้างในท้องที่ตำรวจภูธรที่ยังจับกุมไม่ได้ ปราบปรามผู้ร้ายที่กำเริบในท้องที่ของภูธรทั่วราอาณาจักร

กองตำรวจสันติบาล หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ได้มีประกาศเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การแบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ พ.ศ. 2475 กิจการตำรวจให้แบ่งเป็น 4 ส่วน คือหน่วยบริหารงานส่วนกลาง ตำรวจนครบาล ตำรวจภูธร ตำรวจสันติบาลกองตำรวจสันติบาลนี้ ได้รวมตำรวจภูบาล ตำรวจกองพิเศษ กองตำรวจภูธรกลางเข้าด้วยกัน แบ่งออกเป็น 5 กอง กอง 1 สืบสวนปราบปราม กอง 2 สืบราชการพิเศษ กอง 5 ตำรวจสรรพสามิต

กองตำรวจสอบสวนกลาง ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2484 มีฐานะเป็นกองบังคับการ เป็นการแยกหน้าที่การสืบสวนปราบปราม ออกมาจากตำรวจสันติบาล ตำรวจสันติบาลคงมีหน้าที่เกี่ยวกับคดีการเมืองเท่านั้น กองตำรวจสอบสวนกลางแบ่งออกเป็น 3 กองกำกับการ กองกำกับการ 1 ทำหน้าที่อย่างกองปราบปราม คือค้นคว้าเกี่ยวกับสมุฎฐาน การประทุบร้ายต่าง ๆ ที่ไม่เกี่ยวกับคดีการเมือง กองปราบปราม ตั้งครั้งแรกเมือ พ.ศ. 2491 โดยได้มีการยกฐานะของกองสอบสวนกลาง เป็นกองบัญชาการสอบสวนกลาง กองกำกับต่าง ๆ จึงยกขึ้นเป็นกองชั้นกองบังคับการด้วย กองกำกับการ 1 ได้ยกเป็นกองบังคับการ ขนานนามว่า “กองปราบปราม” แยกงานสถิติไปไว้ที่กองวิทยาการทั้งหมด จึงดูเหมือนกองปราบปรามเป็นกองที่ตั้งขั้นใหม่จริง ๆ การตั้งกองปราบปรามนี้ได้ตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกา จัดวางระเบียบราชการกรมตำรวจในกระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2491 มาตรา 2 กำหนดให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา คือวันที่ 31 สิงหาคม 2491 เป็นต้นไปดังนั้นวันสถาปนากองปราบปราม จึงเป็นวันที่ 1 กันยายน ในการจัดตั้งดังกล่าวนี้ได้แบ่งกองปราบปรามออกเป็น 5 กองกำกับการ กองกำกับการละ 3 แผนก พ.ศ. 2496 ได้มีการปรับปรุงส่วนราชการในกองปราบปราม ใหม่ให้เหมาะสม แต่ยังคงมี 5 กองกำกับการเหมือนเดิม คือ กองกำกับการ 1 คดีอาญา แบ่งเป็น 5 แผนก กองกำกับการ 2 จู่โจม แบ่งออกเป็น 3 แผนก และมีตำรวจสุนัขเป็นหน่วยฝาก กองกำกับการ 3 ต่างจังหวัด แบ่งออกเป็น 3 แผนก กองกำกับการ 4 ข้าราชการทุจริตแบ่งออกเป็น 4 แผนก และกองกำกับการ 5 ภาษีอากร แบ่งออกเป็น 3 แผนก

  • พ.ศ. 2503 ได้มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมตำรวจกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 14 กันยายน 2503 ให้เปลี่ยนชื่อ กองปราบปราม เป็น “กองสืบสวนสอบสวน” ขึ้นตรงต่อกองบัญชาการสอบสวนกลางแบ่งออกเป็น 6 กองกำกับการ กองกำกับการละ 5 แผน
  • พ.ศ. 2504 ได้มีพระราชกฤษฎีกา แบ่งส่วนราชการกรมตำรวจกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2504 ให้ไว้ ณ วันที่ 26 กันยายน 2504 ได้มีการปรับปรุงกองปราบปรามขึ้นใหม่โดยเพิ่ม กองกำกับการ 7 ทำหน้าที่สืบสวนสอบสวนเกี่ยวกับยาเสพย์ติดให้โทษ และเปลี่ยนแปลงชื่อกองสืบสวนสอบสวน กลับมาเป็น กองปราบปราม ดังเดิม
  • พ.ศ. 2525 ได้มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 10 พ.ศ. 2525 ให้ไว้ ณ วันที่ 12 มิถุนายน 2525 ตั้งกองกำกับการ 8 เพิ่มเติม แบ่งส่วนราชการเป็น 8 แผนก มีหน้าที่สืบสวนสอบสวนคดีอาญาทั่ว ๆ ไป ที่ผู้เสียหายเป็นชาวต่างประเทศ
  • พ.ศ. 2525 ในปีเดียวกันนี้ ได้มีคำสั่งกรมตำรวจที่ 250/2525ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2525 ตั้งหน่วยเฉพาะกิจป้องกันปราบปรามความผิดทางเศรษฐกิจ ที่ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ในการดำรงชีวิตประจำวันของประชาชนและความมั่นคงของชาติ
  • พ.ศ. 2533 ได้มีมติคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ ( ก.ตร.) ในการประชุมครั้งที่ 14/2533 เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2533 และมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2533 กำหนดให้มีหน่วยงานเพิ่มอีก 1 หน่วย คือ ฝ่ายอำนวยการ ประกอบงาน 13 งาน
  • พ.ศ. 2534 ได้มีมติคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ ( ก.ตร.)ในการประชุมครั้งที่ 9/2534 เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2534 และมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2534 ให้ยกฐานะกองกำกับการ 6 ขึ้นเป็นส่วนปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ โดยให้ขึ้นกับกรมตำรวจ และให้ขึ้นกับกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลางในเวลาต่อมา และในปีเดียวกันได้มีพระราชกฤษฎีกา แบ่งส่วนราชการตำรวจ กระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 17 พ.ศ. 2534 ให้ไว้ ณ วันที่ 22 พฤศจิกายน 2534 ยกเลิก กองกำกับ 8 โดยยกฐานะเป็นกองบังคับการตำรวจท่องเที่ยว สังกัดกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง
  • พ.ศ. 2535 ได้มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมตำรวจกระทรวงมหาดไทยฉบับที่ 18 พ.ศ. 2535 ให้ไว้ ณ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2535 ยกเลิกกองกำกับการ 7 โดยยกฐานะเป็นกองบัญชาการ ตำรวจปราบปรามยาเสพติด และในปีเดียวกันได้มีพระราชกฤษฎีกา แบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 20 พ.ศ. 2535 ให้ไว้ ณ วันที่ 2 มีนาคม 2535 ยกเลิกกองทะเบียนคนต่างด้าวและภาษีอากร โดยตั้งเป็นกองบังคับการสืบสวนสอบสวนคดีเศรษฐกิจ
  • การยกเลิกกองกำกับการ 6, 7 และ 8 และการตั้งกองบังคับการสืบสวนสอบสวนคดีเศรษฐกิจ ทำให้กองปราบปรามไม่ต้องรับผิดชอบงานป้องกันและปราบปรามที่เกี่ยวกับการทุจริต และประพฤติมิชอบในวงราชการ ยาเสพติด ตำรวจท่องเที่ยว และความผิดทางเศรษฐกิจโดยตรงอีกต่อไป
  • พ.ศ. 2539 มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2539 ให้ไว้ ณ วันที่ 17 ตุลาคม 2539 โดยแบ่ง กองปราบปรามเป็น 6 กองกำกับการ คือกองกำกับการ 1 – 5 และกก.ฝอ.
  • พ.ศ. 2548 ได้มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2548และกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการเป็นกองบังคับการหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออื่นในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2548 ยกเลิกส่วนราชการเดิมตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2539 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้วจัดตั้งส่วนราชการใหม่ จึงใช้ชื่อ “กองบังคับการปราบปราม” ดังในเช่นปัจจุบัน…
  • พ.ศ.2552 ได้มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2552 และประกาศสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เรื่องการกำหนดหน่วยงานและเขตอำนาจความรับผิดชอบหรือเขตพื้นที่ความรับผิดชอบของส่วนราชการ โดยกองบังคับการปราบปรามประกอบด้วย 1 กองกำกับการฝ่ายอำนวยการ , กองกำกับการ 1-6 , กองกับการปฏิบัติงานพิเศษ และกลุ่มงานสอบสวน
  • พ.ศ.2561 ได้มีแบ่งส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ลงวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2561  เรื่องการกำหนดหน่วยงานและเขตอำนาจความรับผิดชอบหรือเขตพื้นที่ความรับผิดชอบของส่วนราชการ โดยกองบังคับการปราบปรามประกอบด้วย 1 กองกำกับการฝ่ายอำนวยการ , กองกำกับการ 1- 6 , กองกับการสนับสนุน และกลุ่มงานสอบสวน
  • เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2563 เวลา 07.00 น. พล.ต.ต.จิรภพ ภูริเดช ผู้บังคับการปราบปราม พร้อมข้าราชการตำรวจ ได้เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทเข้ารับพระราชทาน ตราสัญลักษณ์ประจำชุดปฏิบัติการพิเศษ หนุมาน หน้าพระบรมฉายาลักษณ์ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน

ผู้บังคับบัญชาระดับสูง กองบังคับการปราบปราม

พล.ต.ต.มนตรี เทศขัน
ผบก.ป.

พ.ต.อ.วิทยา ศรีประเสริฐภาพ
รอง ผบก.ป.

พ.ต.อ.พัฒนศักดิ์ บุปผาสุวรรณ
รอง ผบก.ป.

พ.ต.อ.มีชัย กำเนิดพรม
รอง ผบก.ป.

พ.ต.อ.เอนก เตาสุภาพ
รอง ผบก.ป.

พ.ต.อ.พรศักดิ์ เลารุจิราลัย
รอง ผบก.ป.

พ.ต.อ.ณัฐพงษ์ ปิตะบุตร
รอง ผบก.ป.

พ.ต.อ.สรร มั่นเมืองรยา
รอง ผบก.ป.

ผู้บังคับบัญชาระดับกองกำกับการ

พ.ต.อ.ธงชัย อยู่เกษ
ผกก.1 บก.ป.

พ.ต.อ.บุญลือ ผดุงถิ่น
ผกก.2 บก.ป.

พ.ต.อ.วิวัฒน์ จิตโสภากุล
ผกก.3 บก.ป.

พ.ต.อ.ปทักข์ ขวัญนา
ผกก.4 บก.ป.

พ.ต.อ.วิระชาญ ขุนไชยแก้ว
ผกก.5 บก.ป.

พ.ต.อ.พงศ์ปณต ชูแก้ว
ผกก.6 บก.ป.

พ.ต.อ.วิจักขณ์ ตารมย์
ผกก.สนับสนุน

พ.ต.อ.สมโภชน์ แดงปุ่น
ผกก.ฝอ.บก.ป.

พ.ต.อ. มิ่งมนตรี ศิริพงษ์
ผกก.กลุ่มงานสอบสวน บก.ป.

พ.ต.อ.เทวินทร์ ขุนแก้ว
ผกก.กลุ่มงานสอบสวน บก.ป.

พ.ต.อ.มงคล พรมโสภา
ผกก.กลุ่มงานสอบสวน บก.ป.

พ.ต.อ.สมบัติ มาลัย
ผกก.กลุ่มงานสอบสวน บก.ป.

พ.ต.อ. เริงศักดิ์ ชุ่มจิตต์
ผกก.กลุ่มงานสอบสวน บก.ป.

พ.ต.อ.เสวก บุญจันทร์
ผกก.กลุ่มงานสอบสวน บก.ป.

พ.ต.อ.สัณห์เพ็ชร หนูทอง
ผกก.กลุ่มงานสอบสวน บก.ป.

อำนาจหน้าที่

บก.ป. มีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับ

  • การถวายการอารักขาและรักษาความปลอดภัยองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้แทนพระองค์และพระราชอาคันตุกะ
  • รักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญ
  • รักษาความสงบเรียบร้อย
  • ป้องกันปราบอาชญากรรม
  • ปฏิบัติงาน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
  • และกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับความผิดทางอาญาเกี่ยวกับชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สิน ผู้มีอิทธิพล มือปืนรับจ้าง อาวุธสงคราม
  • และความผิดที่มีโทษทางอาญาอันเกี่ยวกับการก่อความไม่สงบสุข แก่ประชาชนที่ต้องใช้กำลังปฏิบัติการเสริมเป็นจำนวนมาก
  • สนับสนุนการป้องกันปราบปราม การจลาจลและควบคุมฝูงชน
  • ระงับเหตุฉุกเฉิน ปราบปรามการก่อการร้าย การก่อวินาศกรรมทั่วราชอาณาจักร
  • การจับกุมคนร้ายที่มีอาวุธร้ายแรง
  • การรักษาความมั่นคงภายในและรักษาความสงบเรียบร้อย
  • รวมทั้งการปฏิบัติงานร่วมหรือช่วยเหลือสนับสนุนการปฏิบัติงานของตำรวจท้องที่หรือหน่วยงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
รถฉลามบก

วิสัยทัศน์ Vision


ป็นหน่วยงานระดับกองบังคับการ ทำงานด้านการสืบสวนสอบสวน และสนับสนุนงานด้านการป้องกันปราบปรามอย่าง มืออาชีพเป็นสากล ด้วยหลักการปฏิบัติและเทคนิค ที่มีประสิทธิภาพ ยึดหลักสิทธิมนุษยชน ความโปร่งใสและความ เป็นธรรม

พันธกิจ Mission

  • 1. ถวายการอารักขาและรักษาความปลอดภัยองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และ พระบรมวงศานุวงศ์
  • 2. การป้องกันปราบอาชญากรรม สืบสวนสอบสวนการกระทำความผิดที่มีโทษ ความผิดอันเกี่ยวกับการก่อความไม่สงบสุขแก่ประชาชน
  • 3. การสนับสนุนการป้องกันปราบปรามการจลาจลและควบคุม ฝูงชน ระงับเหตุฉุกเฉิน ปราบปรามการก่อการร้าย การก่อวินาศกรรม การจับกุมคนร้ายที่มีอาวุธร้ายแรง
  • 4. การรักษาความมั่นคงภายในและรักษาความสงบเรียบร้อย
  • 5. การปฏิบัติงานร่วม หรือช่วยเหลือสนับสนุนการปฏิบัติงาน ของตำรวจท้องที่ หรือหน่วยงานอื่น

พื้นที่รับผิดชอบ

กองกำกับการ ๑

กองกำกับการ ๒

กองกำกับการ ๓

กองกำกับการ ๔

กองกำกับการ ๕

กองกำกับการ ๖

กองกำกับการสนับสนุน

ฝ่ายอำนวยการ

กลุ่มงานสอบสวน

ที่ตั้งของหน่วยงาน ​

     หากพี่น้องประชาชนไม่ว่าอยู่ส่วนไหนของประเทศไทยได้รับความเดือดร้อน ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวของกับเรื่องอาชญากรรมอบายมุข ถูกรังแกจากกลุ่มอิทธิพลทีท้าทายต่ออำนาจของกฎหมายตลอดจนเรื่องเดือดร้อนไม่ได้รับความยุติธรรมที่อยู่ในความรับผิดชอบของตำรวจกองปราบ เราพร้อมทำหน้าที่และยืนอยู่ข้างประชาชนผู้ทุกข์ยากเสมอ โดยสามารถเดินทางมาติดต่อเราด้วยตนเองตามแผนที่หรือโทรศัพท์ติดต่อหน่วยงานต่างๆภายในกองบังคับการปราบปรามที่ท่านต้องการได้ที่นี่